ย่อความจาก เกร็ดธรรม (โดย ศ.ดร.แสง จันทร์งาม)
ชายคนหนึ่งมีฐานะปานกลาง พออยู่พอกินไม่จัดว่ารวยหรือจน เขาไม่พอใจรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนยากจนมาก อยากรวยแต่ไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะไม่มีทุน ไม่มีทาง และไม่มีปัญญา
วันหนึ่งมีคนมาเล่าให้ฟังว่า มีพระฤาษีตนหนึ่งอาศัยอยู่ในถ้ำบนภูเขา พระฤษีมี "แก้วสารพัดนึก" ที่สามารถดลบันดาลทุกสิ่งให้แก่ผู้ที่ต้องการได้ เมื่อได้ฟังดังนั้นเขาจึงไม่รอช้ารีบออกเดินทางไปพบพระฤาษีทันที
เมื่อไปถึงเขาจึงไปขอพำนักและปรนนิบัติท่าน ผ่านไปได้สองสามวันจนรู้สึกคุ้นเคยบ้างแล้วเขาจึงกราบเรียนถามถึงแก้วสารพัดนึกตามที่ได้ยินมา ท่านฤาษีตอบว่าท่านมีอยู่จริง ชายหนุ่มจึงอ้อนวอนขอจากท่านหนึ่งลูก เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาความยากจนของตนเอง "ได้" ท่านฤาษีกล่าว
"แต่แก้วสารพัดนึกนั้นไม่ใช่ของฉันนะ"
"เป็นของศักดิ์สิทธิ์มีอยู่เอง ใครมีบุญก็จะได้ไป" "ถ้าเธออยากได้ต้องพยายามเอง " "จะให้ผมทำอย่างไรครับ" เขาถาม พระฤาษีชี้ไปยังตุ่มใบหนึ่ง บอกให้เขาไปตักน้ำในลำธารมาเติมให้เต็ม เมื่อน้ำเต็มตุ่มเมื่อใดแก้วสารพัดนึกก็จะปรากฏขึ้นมาเอง เมื่อนั้นให้รีบคว้าไว้
ชายคนนั้นดีใจมาก รีบคว้าถังสองใบลงจากภูเขาไปตักน้ำในลำธาร เทียวขึ้นๆลงนับสิบเที่ยวอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเมื่อน้ำใกล้ถึงคอตุ่ม ก็ปรากฏแก้วสารพัดนึกลอยขึ้นมา เขาทิ้งถังวิ่งไล่คว้าแก้วดวงนั้นไปมาแต่พอจะคว้า แก้วสารพัดนึกก็ลอยห่างไปทุกครั้ง เมื่อไม่สำเร็จ เขาจึงไปถามพระฤษีว่าเป็นเพราะเหตุอันใด ท่านจึงชี้ให้ดูว่าน้ำที่เขาตักมามันยังไม่เต็มตุ่มดี เขาจึงรีบคว้าถังวิ่งลงเขาไปตักน้ำมาเพิ่ม
เมื่อเขากลับมาปรากฏว่าดวงแก้วได้หายไปแล้ว และน้ำก็ลดระดับลงเหลือเพียงครึ่งตุ่ม เขายังไม่ละความพยายามกลับไปตักน้ำขึ้นมาใหม่ แล้วก็เป็นเหมือนเดิมซ้ำไปซ้ำมาคือพอน้ำใกล้ถึงปากตุ่มก็จะมีดวงแก้วปรากฏแต่เขาไม่ยอมเสียเวลา รีบกลับไปตักน้ำมาเติมอีกเพื่อจะให้เต็มตุ่มแต่ก็ต้องพบว่าแก้วสารพัดนึกที่เห็นนั้นก็หายไป และน้ำก็ลดเหลือครึ่งตุ่มอยู่เช่นเดิม
"ท่านอาจารย์ครับผมได้พยายามอย่างเต็มที่แล้วแต่ไม่สำเร็จ"
"ผมควรทำอย่างไรต่อไปดีครับ"
พระฤาษียิ้มพลางตอบว่า "อันที่จริงการจะได้ดวงแก้วนี้มานั้นง่ายนิดเดียว"
"แต่ที่เราให้เธอไปตักน้ำมานั้นก็เพื่อให้เธอได้รับบทเรียนอันมีค่าเสียก่อน"
"การที่เจ้าและคนในโลกพยายามตักน้ำใส่ตุ่มให้เต็มแล้วจะได้แก้ววิเศษนั้นไม่มีวันสำเร็จ"
"เพราะตุ่มนี้ก็เป็นตุ่มวิเศษเหมือนกัน คือพอมันใกล้จะเต็มน้ำก็จะลดลงไปทันที"
"เมื่อน้ำใกล้จะเต็มทุกคนก็เกิดความหวัง ยอมเหน็ดเหนื่อยทรมาณไม่รู้จักสิ้นสุด"
"บัดนี้เจ้าคงได้บทเรียนมากพอ มา...เราจะพาเจ้าไปเอาดวงแก้วนั้น"
พระฤาษีจูงมอชายหนุ่มไปที่ตุ่มใบนั้นแล้วพูดว่า
"เจ้าลำบากลำบนไม่มีที่สิ้นสุดก็เพราะตกเป็นทาสของตุ่มใบนี้"
"มันหลอกล่อเจ้าด้วยสัญญาว่าจะให้ดวงแก้วอันวิเศษถ้าเจ้าเลี้ยงมันให้อิ่ม"
"แต่เมืือมันใกล้เต็ม แก้วนั้นก็หายไปพร้อมกับน้ำที่ลดลง แล้วเจ้าก็ต้องหาให้มันกินอยู่ร่ำไป"
พระฤษีส่งฆ้อนให้ชายหนุ่ม "แทนที่เจ้าจะเป็นทาสของมัน จงประกาศอิสระภาพด้วยการทำลายมันเสีย"
ชายหนุ่มเงื้อฟาดฆ้อนลงไปที่ตุ่มสุดแรง เมื่อตุ่มแตกละเอียดกระจายหายไป ก็ปรากฏว่ามีดวงแก้วสารพัดนึกปรากฏขึ้นมา คราวนี้ชายหนุ่มคว้าไว้ครอบครองได้สมความปรารถนา
เราทุกคนกำลังตักน้ำใส่ตุ่มใบใหญ่ที่ไม่รู้จักเต็มคือความอยากหรือตัณหาของเราเอง เรายอมเหนื่อยยอมทุกข์ทรมาณเพื่อให้เป็นไปตามที่อยากได้ อยากมี อยากเป็น เมื่อได้มาก็สุขชั่วคราว แล้วก็อยากใหม่ไปอีกเรื่อยๆ เราจึงอยู่ในฐานะวิ่งตามความสุขตลอดกาลแต่ไม่ทันความสุขเสียที เพราะพอเมื่อจะทัน มันก็วิ่งหนีไปรออยู่ข้างหน้าเราอยู่ร่ำไป
แก้วสารพัดนึก
ชายคนหนึ่งมีฐานะปานกลาง พออยู่พอกินไม่จัดว่ารวยหรือจน เขาไม่พอใจรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนยากจนมาก อยากรวยแต่ไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะไม่มีทุน ไม่มีทาง และไม่มีปัญญา
วันหนึ่งมีคนมาเล่าให้ฟังว่า มีพระฤาษีตนหนึ่งอาศัยอยู่ในถ้ำบนภูเขา พระฤษีมี "แก้วสารพัดนึก" ที่สามารถดลบันดาลทุกสิ่งให้แก่ผู้ที่ต้องการได้ เมื่อได้ฟังดังนั้นเขาจึงไม่รอช้ารีบออกเดินทางไปพบพระฤาษีทันที
เมื่อไปถึงเขาจึงไปขอพำนักและปรนนิบัติท่าน ผ่านไปได้สองสามวันจนรู้สึกคุ้นเคยบ้างแล้วเขาจึงกราบเรียนถามถึงแก้วสารพัดนึกตามที่ได้ยินมา ท่านฤาษีตอบว่าท่านมีอยู่จริง ชายหนุ่มจึงอ้อนวอนขอจากท่านหนึ่งลูก เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาความยากจนของตนเอง "ได้" ท่านฤาษีกล่าว
"แต่แก้วสารพัดนึกนั้นไม่ใช่ของฉันนะ"
"เป็นของศักดิ์สิทธิ์มีอยู่เอง ใครมีบุญก็จะได้ไป" "ถ้าเธออยากได้ต้องพยายามเอง " "จะให้ผมทำอย่างไรครับ" เขาถาม พระฤาษีชี้ไปยังตุ่มใบหนึ่ง บอกให้เขาไปตักน้ำในลำธารมาเติมให้เต็ม เมื่อน้ำเต็มตุ่มเมื่อใดแก้วสารพัดนึกก็จะปรากฏขึ้นมาเอง เมื่อนั้นให้รีบคว้าไว้
ชายคนนั้นดีใจมาก รีบคว้าถังสองใบลงจากภูเขาไปตักน้ำในลำธาร เทียวขึ้นๆลงนับสิบเที่ยวอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเมื่อน้ำใกล้ถึงคอตุ่ม ก็ปรากฏแก้วสารพัดนึกลอยขึ้นมา เขาทิ้งถังวิ่งไล่คว้าแก้วดวงนั้นไปมาแต่พอจะคว้า แก้วสารพัดนึกก็ลอยห่างไปทุกครั้ง เมื่อไม่สำเร็จ เขาจึงไปถามพระฤษีว่าเป็นเพราะเหตุอันใด ท่านจึงชี้ให้ดูว่าน้ำที่เขาตักมามันยังไม่เต็มตุ่มดี เขาจึงรีบคว้าถังวิ่งลงเขาไปตักน้ำมาเพิ่ม
เมื่อเขากลับมาปรากฏว่าดวงแก้วได้หายไปแล้ว และน้ำก็ลดระดับลงเหลือเพียงครึ่งตุ่ม เขายังไม่ละความพยายามกลับไปตักน้ำขึ้นมาใหม่ แล้วก็เป็นเหมือนเดิมซ้ำไปซ้ำมาคือพอน้ำใกล้ถึงปากตุ่มก็จะมีดวงแก้วปรากฏแต่เขาไม่ยอมเสียเวลา รีบกลับไปตักน้ำมาเติมอีกเพื่อจะให้เต็มตุ่มแต่ก็ต้องพบว่าแก้วสารพัดนึกที่เห็นนั้นก็หายไป และน้ำก็ลดเหลือครึ่งตุ่มอยู่เช่นเดิม
"ท่านอาจารย์ครับผมได้พยายามอย่างเต็มที่แล้วแต่ไม่สำเร็จ"
"ผมควรทำอย่างไรต่อไปดีครับ"
พระฤาษียิ้มพลางตอบว่า "อันที่จริงการจะได้ดวงแก้วนี้มานั้นง่ายนิดเดียว"
"แต่ที่เราให้เธอไปตักน้ำมานั้นก็เพื่อให้เธอได้รับบทเรียนอันมีค่าเสียก่อน"
"การที่เจ้าและคนในโลกพยายามตักน้ำใส่ตุ่มให้เต็มแล้วจะได้แก้ววิเศษนั้นไม่มีวันสำเร็จ"
"เพราะตุ่มนี้ก็เป็นตุ่มวิเศษเหมือนกัน คือพอมันใกล้จะเต็มน้ำก็จะลดลงไปทันที"
"เมื่อน้ำใกล้จะเต็มทุกคนก็เกิดความหวัง ยอมเหน็ดเหนื่อยทรมาณไม่รู้จักสิ้นสุด"
"บัดนี้เจ้าคงได้บทเรียนมากพอ มา...เราจะพาเจ้าไปเอาดวงแก้วนั้น"
พระฤาษีจูงมอชายหนุ่มไปที่ตุ่มใบนั้นแล้วพูดว่า
"เจ้าลำบากลำบนไม่มีที่สิ้นสุดก็เพราะตกเป็นทาสของตุ่มใบนี้"
"มันหลอกล่อเจ้าด้วยสัญญาว่าจะให้ดวงแก้วอันวิเศษถ้าเจ้าเลี้ยงมันให้อิ่ม"
"แต่เมืือมันใกล้เต็ม แก้วนั้นก็หายไปพร้อมกับน้ำที่ลดลง แล้วเจ้าก็ต้องหาให้มันกินอยู่ร่ำไป"
พระฤษีส่งฆ้อนให้ชายหนุ่ม "แทนที่เจ้าจะเป็นทาสของมัน จงประกาศอิสระภาพด้วยการทำลายมันเสีย"
ชายหนุ่มเงื้อฟาดฆ้อนลงไปที่ตุ่มสุดแรง เมื่อตุ่มแตกละเอียดกระจายหายไป ก็ปรากฏว่ามีดวงแก้วสารพัดนึกปรากฏขึ้นมา คราวนี้ชายหนุ่มคว้าไว้ครอบครองได้สมความปรารถนา
เราทุกคนกำลังตักน้ำใส่ตุ่มใบใหญ่ที่ไม่รู้จักเต็มคือความอยากหรือตัณหาของเราเอง เรายอมเหนื่อยยอมทุกข์ทรมาณเพื่อให้เป็นไปตามที่อยากได้ อยากมี อยากเป็น เมื่อได้มาก็สุขชั่วคราว แล้วก็อยากใหม่ไปอีกเรื่อยๆ เราจึงอยู่ในฐานะวิ่งตามความสุขตลอดกาลแต่ไม่ทันความสุขเสียที เพราะพอเมื่อจะทัน มันก็วิ่งหนีไปรออยู่ข้างหน้าเราอยู่ร่ำไป
คนที่ตกเป็นทาสของความอยาก แม้จะมีทรัพย์สมบัติล้นฟ้าก็ยังถือว่าอดอยาก
ยังมีความหิวทางใจ...ยังยากจน
ยังห่างไกล...จากแก้วสารพัดนึก
0 ความคิดเห็น